2011 in review

The WordPress.com stats helper monkeys prepared a 2011 annual report for this blog.

Here’s an excerpt:

London Olympic Stadium holds 80,000 people. This blog was viewed about 460,000 times in 2011. If it were competing at London Olympic Stadium, it would take about 6 sold-out events for that many people to see it.

Click here to see the complete report.

Facebook hacked

บ่ายวันอาทิตย์ ที่แสนขี้เกียจ ขณะคลิกเข้าเฟซบุ้ค ปรากฏว่าได้รับการแจ้งเตือน มีคนพยายามล็อกอิน จากสถานที่ ที่ไม่คุ้นเคยเฉกเช่นเดิม ดังภาพ


Suspicious Account Access
Your account was recently accessed from a location we’re not familiar with

เพิ่มเติม

ฤๅ web design จะต้องบ๊ายบายไปในอนาคต

กราฟสถิติเปรียบเทียบ ปริมาณข้อมูลที่สัญจรบนอินเตอร์เน็ต ในสหรัฐ


Sources: Cisco estimates based on CAIDA publications, Andrew Odlyzko

เว็บ (world wide web) เป็นการใช้งานรูปแบบหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต กำเนิดเมื่อช่วงปี 1990 มีอัตราการเจริญเติบโตสูง เป็นที่นิยม เพียงระยะเวลาสิบปี (คศ. 2000) ก็มีอัตราการใช้งานเป็นครึ่งหนึ่งของการใช้งานทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ต ถัดมาอีกสิบปี (คศ. 2010) ณ ปัจจุบัน เหลือส่วนแบ่ง 23% ในขณะที่ ปริมาณข้อมูลวิดีโอที่สัญจรผ่านอินเตอร์เน็ต เติบโตพรวดพราดเป็น 51% แทน (คงเพราะความเร็ว internet ที่สูงมากขึ้นทุกวัน)


นิตยสาร WIRED
ตีพิมพ์บทความเรื่อง The Web Is Dead. Long Live the Internet โดย Chris Anderson และ Michael Wolff เมื่อ August 17, 2010 (บริการด้านเว็บจะม้วยมรณา อินเตอร์เน็ตจงเจริญวัฒนาสถาพร) 

(wired มีขายบน ไอแผด และ ไอโฟน ด้วย)


ดามด้วยบทความบนเว็บ SmashingMagazine.com:
Does The Future Of The Internet Have Room For Web Designers?
โดย Cameron Chapman เมื่อ September 24th, 2010 (อนาคตของอินเตอร์เน็ต ยังจะมีที่ว่างสำหรับอาชีพออกแบบเว็บไหม?)

 

ทั้งสองบทความกล่าวถึง ทิศทาง-รูปแบบ การใช้งานบนอินเตอร์เน็ตในอนาคต เพิ่มเติม

สงสัย.. ทำไม Windows ถึงยังไม่มี application store สักที?

หลานอายุสามขวบ มีของเล่นเต็มบ้าน แต่ก็ชอบมาขอเล่น iPad, iPhone ซึ่งผมก็หา app ฟรี โปรแกรมพวก บวกเลข, วาดรูปง่ายๆ , เกมส์ง่ายๆ ฟิสิกส์แก้ปัญหา สำหรับเด็กก่อนเรียน แน่นอนว่า หลานติดใจ

คิดเปรียบเทียบกับ คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป และ แล็ปท็อปโน้ตบุ้ค อรรถประโยชน์ ซึ่งมีกันประจำบ้าน ใช้งานได้หลากหลายสารพัด ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ได้ง่าย ต่อเน็ต เล่นเกมส์ ทำงานทุกวันบน Windows แต่หากต้องการซื้อเกมส์เล็กๆ สักเกมส์ หรือโปรแกรมสำหรับเด็ก (หรือเพลง) แล้วชำระเงินผ่านบัตร ดาวน์โหลดมาเล่น ทำไมถึงหาซื้อง่ายๆ ไม่ได้เลยบนพีซีวินโดวส์? และแทบนึกไม่ออกด้วยซ้ำ ว่าต้องไปซื้อที่ใด? นอกจากแผ่นผีพันธ์ทิพย์!

เพิ่มเติม

โลกร้อนขึ้นจากอดีตถึงปัจจุบัน? นาซามีภาพให้ดู (NASA climate kids)


Climate Time Machine: Average Global Temperature during 1885-2007

โลกร้อนขึ้น จริงหรือ? น้ำแข็งขั้วโลกละลาย จริงหรือ? น้ำจะท่วมโลก จริงหรือ? แล้วส่งผลกระทบอะไรบ้าง?  เว็บไซท์ ไคลเมทคิดส์ ของ นาซา (Climate Kids) มีรายละเอียดให้อ่าน (ภาษาอังกฤษ) เข้าใจง่าย พร้อมภาพประกอบ ผ่านสื่อหลายรูปแบบ (rich media) เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี ดูฟรีๆ ไม่ต้องเสียอัฐ

เพิ่มเติม

30 ปี แพ็คแมน บนกูเกิ้ล ดูเดิ้ล (30th anniversary Pac-Man on Google Doodle)


Pac-Man 30th Anniversary on Google Doodle


ครบรอบ 30 ปี วิดีโอเกมส์แพ็คแมน (Pac-Man หรือชื่อแรก Puck Man パックマン) สุดยอด อาเขตเกมส์ อมตะค้ำฟ้า ของบริษัท แนมโค่ (Namco)

เกมส์นี้เริ่มออกในญี่ปุ่น วันที่ 22 พฤษภาคม คศ.1980 เป็นแบบตู้เกมส์หยอดเหรียญ (arcade game) วันนี้ (21 May) เว็บเซิร์ชเอ็นจิ้น อย่าง กูเกิ้ล ก็ร่วมฉลองด้วยการเปลี่ยนอักษรโลโก้ Google บนหน้าเว็บ google.com หรือที่มีชื่อเรียกว่า กูเกิ้ล ดูเดิ้ล (Google Doodle) ให้เป็นผังเขาวงกตหน้าจอเกมส์แพ็คแมน ที่สำคัญคือ เล่นได้จริงๆ ด้วย สุโค่ย (Tsu-Koi) มิใช่น้อย… กดปุ่มหยอดเหรียญ (insert coin) หรือคลิกที่หน้าจอเกมส์เพื่อเริ่มเล่นได้เลย นับว่าเป็น ดูเดิ้ล แรก ของกูเกิ้ล ที่อินเตอร์แอ็คทีฟ กับผู้ใช้งาน ออกแบบและทำโดย Marcin Wichary ร่วมกับ Ryan Germick

สำหรับประวัติ การเปลี่ยนโลโก้ กูเกิ้ล ดูเดิ้ล ให้สอดคล้องกับเทศกาลต่างๆ ทั่วโลกนั้น เริ่มครั้งแรก เมื่อ เพิ่มเติม

ทวิตเตอร์พาเหรด Let’s parade with twitter people!


ภาพหน้าจอ ขบวนพาเหรดชาวทวิตเตอร์

ชวนไปร่วมเดินขบวนประท้วง
อ่านจากเว็บ ไอ้แอนนนนน: อย่ากลัวเคอร์ฟิว มาร่วมม็อบทวิตเตอร์กัน!
จะรอช้าอยู่ใย เพื่อนไทย ก้าวเดินเจริญสุกใส ชาติไทย ที่รักของเรา

ไปญี่ปุ่น โดยพลัน คลิก http://isparade.jp/ (แฟลช อนิเมชั่น และมีเสียงวงโยธวาทิต)

Google Chrome แทรก ad อย่างเนียนๆ

Google Chrome with ad inserted

ใช้บราวเซอร์ Google Chrome ค้นหา ด้วยการพิมพ์คีย์เวิร์ด “ตำนานไฟนอล” ลงในช่อง address  Bar (ซึ่งเป็นการค้นที่ Google.com) เพื่อจะตรวจดูว่า entry เรื่องนี้ อยู่ในกูเกิล หรือเปล่า

ได้หน้าเว็บดังรูปข้างล่าง ซึ่งก็มี blog นี้ อยู่ในผลการค้นหาด้วย

คลิกดูรูปใหญ่

search result - click to enlarge Google Chrome with ad inserted - click to enlarge

คลิกลิ้งค์ กลับมาที่ blog
ดู URL ในช่อง address bar ก็ถูกต้องครบถ้วนปกติ
แต่เมื่อสโครลลงมาดูก็พบว่ามี Ads by Google แทรกอยู่ท้ายเนื้อหาอย่างเนียนๆ
ถ้าคลิกที่ ชื่อไตเติ้ลอีกที คราวนี้ไม่เห็นโฆษณาของกูเกิ้ล (เข้าใจว่าคลิกแล้ววิ่งกลับมาที่ บล็อก ต้นฉบับ)
ทั้งๆ ที่ blog นี้ ยังไม่ได้เอา Google AdSense มาติดแต่อย่างใด เพิ่มเติม

หนังสือ Web Design Index by Content 04

web design index by content 04

Web Design Index by Content ลำดับที่ 04
ISBN 9057681277  the Pepin Press (ดูภาพตัวอย่างในเล่ม)
ออกปีละเล่ม พิมพ์สีสวยงาม 528 หน้า
ซื้อจากร้าน เอเชียบุคส์ (ส่วนลด 10% บอกชื่อสมาชิกผมได้ครับ 😀 ) เพิ่มเติม

blognone yearbook 2008

blognone yearbook 2008 front cover

blognone.com เว็บไซท์ที่รวบรวม (แปล/เขียน) ข่าวด้านไอที ฯลฯ ทำของที่ระลึกปลายปี ปีนี้ทีมงาน (lew CPE & mk isriya) คิดกันว่าจะทำหนังสือ yearbook สรุปภาพรวมปีที่ผ่านมา และมีเนื้อหาใหม่ๆ อาทิ trend อนาคต ฯลฯ เพิ่มเข้าไป
อ่านรายละเอียดที่มาที่ไป คลิกที่นี่

ออกมาเป็นเล่ม ขนาด A4 (เดิมจะเป็น A5 แต่ผมว่าน่าจะทำ B5 ) 86 หน้า 250 บาท พิมพ์เสร็จราวๆ ปลาย กุมภาพันธ์
ส่งมาถึงตู้จดหมาย เปิดดูเจอเมื่อค่ำวันอาทิตย์ 22 มีนาคม เพิ่มเติม

Guidelines for Online Success

Guideline for Online Success

ปกติจะสะสมหนังสือแนว web design เช่น Web Design Index (ออกมาถึงเล่ม 8 ) และ Web Design Index by Content (กำลังจะออก เล่ม 4) ฯลฯ
“Guidelines for Online Success” by Rob Ford เล่มนี้ เพิ่งออกมาเล่มเดียวโดดๆ สะดุดตา พลิกๆ ดูก็น่าสนใจ
เพิ่มเติม

weebly สร้างเว็บไซท์ฟรี

weebly.com

weebly create a free website
ไอเดียดีครับ และเทคนิคที่นำมาใช้ก็สอดรับ ทำให้การสร้างเว็บไซท์ส่วนตัว เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน เพียงคลิกเลือก จับชิ้นส่วน ลากแล้ววาง ก็จะมีเว็บไซท์เป็นของตนเองทันที

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก manager.co.th

นอกจากเว็บ weebly.com ยังมีเว็บ eWedding ที่ให้บริการสร้างเว็บไซท์แต่งงานฟรี
อ่านเพิ่มเติมที่ manager.co.th

Web Design

หนังสือเครือ icons


 
1)  9783822840412 Web Design Best Studios : Französ.-Engl.-Dtsch. (ICONS)  Ed. by Julius Wiedemann TASCHEN VERLAG
2)  9783822830109 Web Design: Studios Vol.2 : Engl.-Dtsch.-Französ. (ICONS)  Hrsg. v. Julius Wiedemann TASCHEN VERLAG
3)  9783822840436 Web Design Portfolios : Dtsch.-Engl.-Französ. (ICONS)  Hrsg. v. Julius Wiedemann TASCHEN VERLAG  
4)  9783822840559 Web Design: E-Commerce : Dtsch.-Engl.-Französ. (ICONS)  Hrsg.: Julius Wiedemann TASCHEN VERLAG  
5)  9783822849583 Web Design: Music Sites : Dtsch.-Engl.-Französ. (ICONS)  Ed.: Julius Wiedemann TASCHEN VERLAG
6)  9783822840474 Web Design: Flash Sites : Dtsch.-Engl.-Französ. (ICONS)  Ed.: Julius Wiedemann TASCHEN VERLAG  
 
 
รูปเล่มเกือบพ้อคเก็ตบุ้ค เล่มละ สี่ร้อยบาทเศษๆ
อเมซอนขาย 9.99$ ไม่มีลดราคาเลย

เกมส์ฟักไข่

เป็นการเอา โค้ด มาใส่ใน ซิกเนเจอร์ ของเว็บบอร์ด หรือ เอา เอชทีเอ็มแอล โค้ด มาใส่โดยตรงก็ได้ สักพัก ไข่จะฟักออกมาเป็นตัว จริงๆ คงเป็น โฆษณา ไปยังเว็บต้นแหล่งไข่ มากกว่า เพราะทำเพียงภาพกราฟฟิค ไข่ และสัตว์เลี้ยง สามสเต็ป หรือกี่สเต็ป ก็ว่าไป ส่วนเอ็นจิ้นในการแรนด้อม ว่าฟักเป็นตัวอะไร นี้ไม่แน่ใจ ว่าวัดจากอะไร หรือแรนด้อมเฉยๆ ซะงั้น แต่ก็นับว่า น่าสนุก ไอเดียดีนะ ลองใส่ไว้ที่สเปซนี้ด้วยละกัน

CSS ยังไม่ถึงไหน RSS โผล่เข้ามาในชีวิตอีก โอ้ สับสน สับสน

เอาไอคอน มาติดสิ

จากเว็บ http://www.feedicons.com/

 

ตาแว้ดกล่าว (http://pradt.net/2006/feed-icons )

แล้วมันไอค่อนอะไรล่ะ ติดทำไม

แล้วติดเฉยๆ เข้าไปได้ไง

มันควรต้องทำอะไรสักอย่าง ที่ตรงกับ ที่เขากำหนดไว้สิ จึงจะเอาไอคอนเขามาติดได้

 

เอาน่า สักวันเราจะโต แล้วก็จะรู้เรื่องที่ผู้ใหญ่เขาคุยกันเองแหละน่า เอิ๊กๆๆ

http://www.baiya.com/rss/WhatisRSS/tabid/282/Default.aspx

คำว่า RSS ย่อมาจาก Rich Site Summary

คร่าวๆ ก็คือ ระบบดึงข่าว (ข้อมูล) ที่อัพเดท มาแสดงผลอัตโนมัติ ซึ่งถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา XML

เอาเป็นว่า สักวันนึงถ้าเขียนเองได้สำเร็จ ก็จะเท่ขึ้นก็แล้วกันนะ

โปรแกรม php-nuke , wordpress, msn space, เว็บจำพวก blog ต่างๆ ล้วนมีสำเร็จรูปไว้แล้วล่ะ เราไม่ต้องทำอะไร

 

แค่เข้าไปที่ http://www.bloglines.com/myblogs สมัครสมาชิกฟรี แล้วจิ้มๆ เลือกว่า อยากเกาะติดเว็บไหนบ้าง (เฉพาะที่เขามีระบบ RSS Feed ทำเตรียมไว้นะ ถ้าเว็บนั้นไม่ได้ทำไว้ ก็จะไปดึงอัตโนมัติ มาได้ไงล่ะ) คราวนี้ เว็บไหน อัพเดทบ้าง เราจะเห็นได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการเช็คที่ บล็อคไลน์ ที่เดียว ไม่ต้องไล่คลิก ชะเง้อคอคอยตรวจ ทุกเว็บ ของเพื่อนๆ หรือลูกค้า ว่าเขาอัพเดทกันหรือยังหว่า เข้าที่เดียว บล็อคไลน์ มีบอกหมด

 

ตอนนี้ ก็ CSS RSS XML PHP eDM DVD CDR HTML SE W800i SW ROTR HP

โตขึ้นก็รู้เองแหละน่า

นอนดีกั่ว ไปทำงานสายทุกวันเลย

CSS

Cascading Style Sheet
 
สำหรับคนที่เกี่ยวข้องกับการทำเว็บ
ควรจะรู้จักกับ ซีเอสเอส ให้หนักหน่อย
 
ที่ผ่านมาหลายปี ก็ยังไม่ค่อยได้เกี่ยวดองหนองยุ่งกับมันเท่าไร ออกจะสับสนด้วยซ้ำ กับโค้ดพันธุ์ผสม คือมีทั้งซีเอสเอสผสมกับเอชทีเอ็มแอล เดิม ในการเขียนเว็บ
ตย.หน้าตา คำสั่งซีเอสเอส เช่น
คำสั่ง style, div, class, id, span
 
ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก เอชทีเอมแอล เดิมเนี่ย พยายามมอง หน้าเว็บ เป็นงานสิ่งพิมพ์สีสันสวยงามมากไปหน่อย
ข้อความ content เนื้อหาสาระที่สำคัญ ในหน้าเว็บ ถูกฝังรวมกับ สีสัน การจัดตกแต่งเพื่อความสวยงามอย่างสิ่งพิมพ์
ผู้พิการต่างๆ เข้าถึงข้อมูลยาก แม้กระทั่งคนปกติ ก็ยังเอาข้อมูลมาใช้งานได้ยาก ทั้งๆ ที่เป็น สาระแบบอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งน่าจะช่วยให้ทุกคน ดึงเอา เนื้อหาสาระเพียวๆ ออกจากการประดับตกแต่ง มาใช้งานได้ง่ายขึ้น
 
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว โค้ดเอชทีเอมแอล ที่ใช้กันอยู่ หลายๆ คำสั่ง จะต้องถูกยกเลิกไปในที่สุด ที่เห็นง่ายๆ เลยก็เช่น
คำสั่ง font face size bold italic
คือชุดคำสั่งที่เกี่ยวกับการแสดง ภาพสีสันหน้าตา ตกแต่ง
รวมถึง การเอา table มาจัดเลย์เอ๊าท์ จัดแบ่งคอลัมน์ อย่างที่เว็บแทบทั้งหมดในอดีต ใช้กัน
เทเบิ้ล ยังใช้ได้อยู่ แต่ใช้กับความเป็น ตาราง ไม่ใช่ใช้เพื่อแสดงความสวยงามของเว็บ
 
รวมทั้งกฏหมาย การเข้าถึงข้อมูล สำหรับคนทุกประเภท (ทั้งปกติ และพิการ) ได้รับการคุ้มครองอย่างสูง
เรียกได้ว่า หน้าเว็บ ของเมืองนอก แทบจะต้องรื้อ (อพยพ) ไปเป็นแบบใหม่ทั้งหมด ไม่งั้นโดนฟ้องร้องอ่วมแน่
 
 
ไฟลนก้น ต้องรู้อย่างละเอียดขึ้นแล้วล่ะ
ค็อนเซ็ปท์ ดีนะ ใช้ง่ายขึ้น แยกส่วนค็อนเท้น กับการแสดงผลออกได้ดี
ตลุยหัด เขียนแบบง่ายๆ ซ้ำไปซ้ำมาหลายๆ รอบ
 
แต่เผอิญว่า บราวเซอร์ไออี ไฟร์ฟ๊อกซ์ อีเมลแบบแสดงภาพสีสัน (html-email, electronic directmail) ซึ่งแสดงผลผ่านโปรแกรมอีเมล เช่น เอ๊าทลุค เอ๊าทลุคเอ๊กเพรส ฮอทเมล ยาฮูเมล จีเมล
แต่ละอัน รองรับการใช้งาน ซีเอสเอส คนละระดับกัน
 
มึนครับ มึน งานช่วงนี้ มีการทำ edm เยอะขึ้น (โฆษณาตรง ถึงผู้รับ ผ่านอีเมล)
วันนี้ลองเขียน แล้ววิว ด้วย ไออี ไฟรฟ๊อกซ์
เอ๊าทลุค เอ๊าทลุคเอ๊กเพรส จีเมล (สามตัวนี้ ยังล้าหลังอยู่เยอะ แต่ต้องเขียนให้ดูแล้วสวยงามเช่นกัน)
มันส์สุดๆ ไปเลย สติหมุนติ้ว
 
อาจจะเป็นเพราะ รายละเอียด (property) คุณสมบัติปลีกย่อย ที่เป็นส่วนขยายคำสั่งหลักเนี่ย มีอีกเยอะเลย
ลองดู ซีเอสเอส บางส่วนกัน
 
– เริ่มเรียน ซีเอสเอส
คลิกที่ ซีเอสเอสเดโม่ ดูจะเห็น เนื้อหาเดิม เพียงแค่เปลี่ยน ซีเอสเอส ก็ได้หน้าตาการแสดงผลเว็บ ใหม่ๆ ไม่ซ้ำ เปลี่ยนง่ายมาก
 
 
– เส้นกรอบ(สำเร็จรูปในตัว) ที่มีให้เลือกหลายแบบ
(เส้นกรอบ เป็นคำสั่งหลัก แต่รูปแบบชนิดของกรอบเป็น คุณสมบัติย่อย เป็นต้น)
 
 
– การสั่งให้ ภาพ หรือแถบสีชิ้นบน ใส มองเห็นพื้นหลัง (อันนี้หนุกดีนะ)
แต่โปรแกรมอีเมลยอดฮิท ยังไม่รองรับ
 
 
แค่ไล่โครงสร้างก็เหนื่อยแล้ว ยังต้องลงไปใน คุณสมบัติปลีกย่อยอีกเยอะเลย
มึน ดูน้องแอนนา ดีกั่ว

มีบล็อกกับเขาจนได้ (MSN Spaces)

ブロッグ も あります よ
へ へ へ
ฮ่าๆๆๆๆ
เมื่อคืน ไม่ได้นอน ปั่นงานจนเช้า แล้วค่อยนอนไปหน่อยนึง
คงต้องจัดเวลาให้ดีๆ ซะแล้ว
หลังจากสมัครสเปซ ของเอ็มเอสเอ็น เห็นโฆษณา ให้เลือกจับคู่ด้วย โฮะๆๆๆ เข้าใจหาภาพมาหลอกล่อ (ภาพล่าง)
น่าเล่นๆ
ปล. MSN Spaces –> Windows Live Spaces สุดท้าย ยุบย้ายไปเป็น WordPress.com
(migrate เมื่อคืน 14 พย. 2553 ตรงกับวันที่ 15 Nov 2010 8:44 AM)

Enter your email address to subscribe to this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 47 other subscribers

Pages

http://www.panoramio.com/userfeed/738518.rss